“
สมาธิสั้น ”
(Attention Deficit
Hyperactivity Disorder: ADHD)
https://www.youtube.com/watch?v=-a8YzTcJCgw
คือ โรคขาดสมาธิในการจดจ่อตั้งใจทำสิ่งใดให้สำเร็จ ขี้ลืม ไม่ใส่ใจคำสั่ง อยู่ไม่นิ่ง ไม่ชอบอยู่กับที่ ไม่อดทน หุนหันพลันแล่น โดยผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุ 3-6 ปี โดยอาการจะแสดงออกอย่างชัดเจนและวินิจฉัยได้ในช่วงอายุ 6-12 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้องเริ่มเข้าโรงเรียน ต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เริ่มสื่อสารและเข้าสังคม
https://www.flaticon.com
|
ด้านสถิติประเทศไทย จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 จำนวนกว่า 7,800 คน ในปี 2555 พบว่าความชุกของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ที่ 8.1% โดยพบมากที่สุดในเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 3:1
อาการที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจมีโรคสมาธิสั้น
1. อาการขาดสมาธิ (attention deficit): เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้ความคิด เด็กมักจะแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ ผลงานมักจะไม่เรียบร้อย ตกๆหล่นๆ ดูเหมือนสะเพร่า ขาดความรอบคอบ เด็กมักจะมีลักษณะขี้ลืม ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ มีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไรเด็กมักจะลืมทำ หรือทำครึ่งๆ กลางๆ อาการขาดสมาธินี้มักจะมีต่อเนื่อง ติดตัวจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่
2. อาการซน (hyperactivity): เด็กจะมีลักษณะซน อยู่ไม่สุข ยุกยิกตลอดเวลา นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย มักประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซน และความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด ชอบแกล้งหรือแหย่เด็กอื่น
3. อาการหุนหันพลันแล่น (impulsivity): เด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน อารมณ์หุนหันพลันแล่น ทำอะไรไปโดยไม่คิดก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมา ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองรถดีๆ ซุ่มซ่าม ทำข้าวของแตกหักเสียหาย เวลาต้องการอะไรก็จะต้องให้ได้ทันที รอคอยอะไรไม่ได้ เวลาอยู่ในห้องเรียนมักจะพูดโพล่งออกมาโดยไม่ขออนุญาตครูก่อน มักตอบคำถามโดยที่ฟังคำถามยังไม่ทันจบ ชอบพูดแทรกเวลาที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ หรือกระโดดเข้าร่วมวงเล่นกับเด็กคนอื่นโดยไม่ขอก่อน
เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นที่แพทย์ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นและประกาศใช้โดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (DSM-IV) โดยแบ่งกลุ่มอาการออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่
gfycat.com |
1. ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
2. ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
3. ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
4. ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อยๆ
5. ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
6. มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
7. วอกแวกง่าย
8. ทำของใช้ส่วนตัว หรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียน หายอยู่บ่อยๆ
9. ขี้ลืมบ่อยๆ
อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) และอาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม(impulsivity) โดยเด็กจะมีอาการต่อไปนี้
1. ยุกยิก อยู่ไม่สุข
2. นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อยๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน
3. ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ
4. พูดมาก พูดไม่หยุด
5. เล่นเสียงดัง
6. ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย
7. ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถามโดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ
8. รอคอยไม่เป็น
9. ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่
สาเหตุของสมาธิสั้น
ปัจจุบัน สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่กำลังมีการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นเหตุให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น หรือเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้นจากหลายปัจจัยเหล่านี้รวมกัน ได้แก่
www.flaticon.com |
พันธุกรรม
ผลการค้นคว้าชี้ว่า ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมักมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดป่วยเป็นโรคนี้เช่นกัน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่โรคสมาธิสั้นจะส่งต่อกันผ่านทางพันธุกรรม
www.flaticon.com |
โครงสร้างสมอง
อาจเป็นโครงสร้างแต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บกระทบกระเทือนทางสมองตั้งแต่ในครรภ์ หรือในช่วงที่เป็นเด็กเล็ก จากการสแกนสมองคนทั่วไปเทียบกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น พบว่าพื้นที่บางส่วนของสมองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมีขนาดเล็กกว่า และบางส่วนก็มีขนาดใหญ่กว่า รวมทั้งการขาดความสมดุลของระดับสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้เป็นโรคสมาธิสั้น
www.flaticon.com |
การตั้งครรภ์และการคลอด
ผู้เป็นแม่อาจสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์ หรืออาจอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ และเต็มไปด้วยมลภาวะ จึงรับเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกายจนมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ รวมไปถึงการคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ
www.flaticon.com |
สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
ผู้ป่วยอาจได้รับสารพิษและสารเคมีที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกายในขณะที่ยังเป็นเด็กเล็ก เช่น ได้รับสารตะกั่วเข้าไปในร่างกายเป็นปริมาณมาก ส่วนความเชื่อที่ว่า การดูโทรทัศน์และการเล่นวิดีโอเกมจะทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้นนั้น ยังไม่มีผลการค้นคว้าที่ยืนยันได้แน่ชัดในปัจจุบัน แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนระหว่างเด็กสมาธิสั้นกับวิดีโอเกมคือ การดูรายการโทรทัศน์บางอย่างหรือการเล่นเกมบางเกมจะตอบสนองต่อความต้องการของเด็กสมาธิสั้นที่ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อสนใจอยู่กับสิ่งใดนาน ๆ ทำอะไรฉาบฉวย ปุบปับ แล้วก็เลิกสนใจไป อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีการอธิบายเชิงสาเหตุ แต่การให้เด็กดูโทรทัศน์ เล่นเกม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอดีทั้งด้านปริมาณและระยะเวลา ย่อมเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูเด็ก
การรักษาสมาธิสั้น
gfycat.com |
โดยทั่วไป สามารถรักษาอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น และลดพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตลง แต่ไม่ได้ทำให้อาการหายขาดไปได้อย่างถาวร โดยการรักษาที่มีประสิทธิผลสูงสุด คือ รักษาด้วยยาควบคู่กับการบำบัด
www.flaticon.com |
การรักษาด้วยยา จะช่วยปรับอาการและพฤติกรรมให้เด็กมีสมาธิจดจ่อได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่งหุนหันพลันแล่นลง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัว และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
การใช้ยารักษาเด็กสมาธิสั้นต้องเป็นไปตามใบสั่งจากแพทย์เท่านั้น โดยเด็กควรรับประทานยาอย่างถูกต้องตามวิธีและตามปริมาณที่แพทย์กำหนด และต้องไปพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอยู่เสมอ
การเข้ารับการบำบัด เด็กควรรับการบำบัดเพื่อเรียนรู้และปรับพฤติกรรมควบคู่ไปกับการรับยา ทั้งเพื่อรักษาบรรเทาอาการสมาธิสั้น และอาการที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับโรคสมาธิสั้น อย่างปัญหาทางอารมณ์ ความวิตกกังวล เป็นต้น
การรับประทานอาหาร ผู้ป่วยสมาธิสั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพและเสริมสร้างสมดุลของสารเคมีภายในร่างกาย เพราะการรับสารอาหารบางประเภทอาจกระตุ้นให้เกิดอาการอยู่ไม่นิ่งหรือหุนหันพลันแล่น เช่น สารปรุงแต่งในอาหาร สีผสมอาหาร น้ำตาล และคาเฟอีน ดังนั้น ผู้ป่วยควรสังเกตและบันทึกข้อมูลอาหารที่รับประทาน และอาการที่เกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารแต่ละชนิด ก่อนไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการควบคุมอาหาร
gfycat.com |
การป้องกันสมาธิสั้น
เนื่องด้วยสาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด การป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้นจึงทำได้โดยการลดความเสี่ยงของปัจจัยด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ ได้แก่
- ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และไม่ใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษและสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น ตะกั่ว ทั้งในขณะที่ตั้งครรภ์ ตลอดจนช่วงระยะที่เด็กเกิดและเติบโต
ในด้านการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นแสดงอาการที่ไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาและการดูแลอย่างถูกวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมและรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างได้อย่างเหมาะสม แสดงพฤติกรรมในด้านที่ดีเพิ่มมากขึ้น และลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลง
ที่มา
- https://www.pobpad.com
- http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/psychiatrics/dept_article_detail.asp?a_id=392