Snoopy Snoopy

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 5 บทความสำหรับโครงานคอมพิวเตอร์

“ สมาธิสั้น ”
(Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)

https://www.youtube.com/watch?v=-a8YzTcJCgw

คือ โรคขาดสมาธิในการจดจ่อตั้งใจทำสิ่งใดให้สำเร็จ ขี้ลืม ไม่ใส่ใจคำสั่ง อยู่ไม่นิ่ง ไม่ชอบอยู่กับที่ ไม่อดทน หุนหันพลันแล่น โดยผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุ 3-6 ปี โดยอาการจะแสดงออกอย่างชัดเจนและวินิจฉัยได้ในช่วงอายุ 6-12 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้องเริ่มเข้าโรงเรียน ต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เริ่มสื่อสารและเข้าสังคม

https://www.flaticon.com

ด้านสถิติประเทศไทย จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 จำนวนกว่า 7,800 คน 
ในปี 2555 พบว่าความชุกของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ที่ 8.1% โดยพบมากที่สุดในเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 3:1 




อาการที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจมีโรคสมาธิสั้น 

1. อาการขาดสมาธิ (attention deficit): เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้ความคิด เด็กมักจะแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ ผลงานมักจะไม่เรียบร้อย ตกๆหล่นๆ ดูเหมือนสะเพร่า ขาดความรอบคอบ เด็กมักจะมีลักษณะขี้ลืม ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ มีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไรเด็กมักจะลืมทำ หรือทำครึ่งๆ กลางๆ อาการขาดสมาธินี้มักจะมีต่อเนื่อง ติดตัวจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่           

2. อาการซน (hyperactivity): เด็กจะมีลักษณะซน อยู่ไม่สุข ยุกยิกตลอดเวลา นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย มักประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซน และความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด ชอบแกล้งหรือแหย่เด็กอื่น 
           
 3. อาการหุนหันพลันแล่น (impulsivity): เด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน อารมณ์หุนหันพลันแล่น ทำอะไรไปโดยไม่คิดก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมา ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองรถดีๆ ซุ่มซ่าม ทำข้าวของแตกหักเสียหาย เวลาต้องการอะไรก็จะต้องให้ได้ทันที รอคอยอะไรไม่ได้ เวลาอยู่ในห้องเรียนมักจะพูดโพล่งออกมาโดยไม่ขออนุญาตครูก่อน มักตอบคำถามโดยที่ฟังคำถามยังไม่ทันจบ ชอบพูดแทรกเวลาที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ หรือกระโดดเข้าร่วมวงเล่นกับเด็กคนอื่นโดยไม่ขอก่อน



   เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นที่แพทย์ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นและประกาศใช้โดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (DSM-IV) โดยแบ่งกลุ่มอาการออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่
gfycat.com
อาการขาดสมาธิ (attention deficit):โดยเด็กจะมีอาการต่อไปนี้

 1. ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
2. ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
3. ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
4. ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้  ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อยๆ 
5. ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
6. มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
7. วอกแวกง่าย
8. ทำของใช้ส่วนตัว หรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียน หายอยู่บ่อยๆ 
9. ขี้ลืมบ่อย

อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) และอาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม(impulsivity) โดยเด็กจะมีอาการต่อไปนี้ 

1. ยุกยิก อยู่ไม่สุข
2. นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อยๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน
3. ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ
4. พูดมาก พูดไม่หยุด
5. เล่นเสียงดัง
6. ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย
7. ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถามโดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ
8. รอคอยไม่เป็น
9. ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่
สาเหตุของสมาธิสั้น
ปัจจุบัน สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่กำลังมีการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นเหตุให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น หรือเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้นจากหลายปัจจัยเหล่านี้รวมกัน ได้แก่
www.flaticon.com

พันธุกรรม 
ผลการค้นคว้าชี้ว่า ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมักมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดป่วยเป็นโรคนี้เช่นกัน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่โรคสมาธิสั้นจะส่งต่อกันผ่านทางพันธุกรรม

www.flaticon.com

โครงสร้างสมอง
 
อาจเป็นโครงสร้างแต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บกระทบกระเทือนทางสมองตั้งแต่ในครรภ์ หรือในช่วงที่เป็นเด็กเล็ก จากการสแกนสมองคนทั่วไปเทียบกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น พบว่าพื้นที่บางส่วนของสมองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมีขนาดเล็กกว่า และบางส่วนก็มีขนาดใหญ่กว่า รวมทั้งการขาดความสมดุลของระดับสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้เป็นโรคสมาธิสั้น


www.flaticon.com
การตั้งครรภ์และการคลอด 
ผู้เป็นแม่อาจสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์ หรืออาจอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ และเต็มไปด้วยมลภาวะ จึงรับเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกายจนมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ รวมไปถึงการคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ

www.flaticon.com

สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ 
ผู้ป่วยอาจได้รับสารพิษและสารเคมีที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกายในขณะที่ยังเป็นเด็กเล็ก เช่น ได้รับสารตะกั่วเข้าไปในร่างกายเป็นปริมาณมาก ส่วนความเชื่อที่ว่า การดูโทรทัศน์และการเล่นวิดีโอเกมจะทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้นนั้น ยังไม่มีผลการค้นคว้าที่ยืนยันได้แน่ชัดในปัจจุบัน แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนระหว่างเด็กสมาธิสั้นกับวิดีโอเกมคือ การดูรายการโทรทัศน์บางอย่างหรือการเล่นเกมบางเกมจะตอบสนองต่อความต้องการของเด็กสมาธิสั้นที่ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อสนใจอยู่กับสิ่งใดนาน ๆ ทำอะไรฉาบฉวย ปุบปับ แล้วก็เลิกสนใจไป อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีการอธิบายเชิงสาเหตุ แต่การให้เด็กดูโทรทัศน์ เล่นเกม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอดีทั้งด้านปริมาณและระยะเวลา ย่อมเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูเด็ก
การรักษาสมาธิสั้น
gfycat.com
โดยทั่วไป สามารถรักษาอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น และลดพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตลง แต่ไม่ได้ทำให้อาการหายขาดไปได้อย่างถาวร โดยการรักษาที่มีประสิทธิผลสูงสุด คือ รักษาด้วยยาควบคู่กับการบำบัด
www.flaticon.com
การรักษาด้วยยา จะช่วยปรับอาการและพฤติกรรมให้เด็กมีสมาธิจดจ่อได้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่งหุนหันพลันแล่นลง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัว และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
การใช้ยารักษาเด็กสมาธิสั้นต้องเป็นไปตามใบสั่งจากแพทย์เท่านั้น โดยเด็กควรรับประทานยาอย่างถูกต้องตามวิธีและตามปริมาณที่แพทย์กำหนด และต้องไปพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอยู่เสมอ
การเข้ารับการบำบัด เด็กควรรับการบำบัดเพื่อเรียนรู้และปรับพฤติกรรมควบคู่ไปกับการรับยา ทั้งเพื่อรักษาบรรเทาอาการสมาธิสั้น และอาการที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับโรคสมาธิสั้น อย่างปัญหาทางอารมณ์ ความวิตกกังวล เป็นต้น
การรับประทานอาหาร ผู้ป่วยสมาธิสั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพและเสริมสร้างสมดุลของสารเคมีภายในร่างกาย เพราะการรับสารอาหารบางประเภทอาจกระตุ้นให้เกิดอาการอยู่ไม่นิ่งหรือหุนหันพลันแล่น เช่น สารปรุงแต่งในอาหาร สีผสมอาหาร น้ำตาล และคาเฟอีน ดังนั้น ผู้ป่วยควรสังเกตและบันทึกข้อมูลอาหารที่รับประทาน และอาการที่เกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารแต่ละชนิด ก่อนไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการควบคุมอาหาร
gfycat.com

การป้องกันสมาธิสั้น
เนื่องด้วยสาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด การป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้นจึงทำได้โดยการลดความเสี่ยงของปัจจัยด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ ได้แก่
  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และไม่ใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษและสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น ตะกั่ว ทั้งในขณะที่ตั้งครรภ์ ตลอดจนช่วงระยะที่เด็กเกิดและเติบโต
ในด้านการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นแสดงอาการที่ไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาและการดูแลอย่างถูกวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมและรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างได้อย่างเหมาะสม แสดงพฤติกรรมในด้านที่ดีเพิ่มมากขึ้น และลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลง

ที่มา

  • https://www.pobpad.com
  • http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/psychiatrics/dept_article_detail.asp?a_id=392

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 4 พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560


ที่มา : https://www.flaticon.com/free-icon/responsive_1055687#term=computer&page=1&position=4

พรบ.คอมพิวเตอร์

ที่มา :https://www.flaticon.com
/free-icon/promotion_1055641
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้



สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้



ที่มา :https://www.flaticon.com
/free-icon/digital-campaign_1055662

1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้


หลัง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ได้ราว 6 เดือน คดีความที่ถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับเดิมต่างทยอยสิ้นสุดคดีจากการสั่งไม่ฟ้องในชั้นอัยการ ถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับการบังคับใช้มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ในจำนวนนี้มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 2 คดี
คดีโพสต์ผังทุจริตอุทยานราชภักดิ์


ที่มา : https://travel.mthai.com/blog/121494.html
ดีแรก คือ คดีของ ‘แจ่ม’ (นามสมมติ) ผู้ตกเป็นผู้ต้องหาในความผิดข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 จากการโพสต์ข้อความ ถึงความขัดแย้งภายใน คสช. จากกรณีทุจริตโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558
เมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้อัยการศาลทหารกรุงเทพ อัยการทหารมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีเนื่องจากเห็นว่าคดีนี้ไม่ได้เป็นความผิดตามมาตรา 116 อัยการทหารจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ทว่าพนักงานสอบสวนยังคงนำสำนวนการสอบสวนเดิมส่งต่อให้อัยการศาลจังหวัดพระโขนง
อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีในเดือนเมษายน 2560 โดยให้เหตุผลว่า ข้อความในเฟซบุ๊กของ ‘แจ่ม’ เป็นความเชื่อของผู้กล่าวหาว่าเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว แต่ไม่มีพยานยืนยันว่าข้อความนั้นเป็นเท็จหรือไม่ และขณะเกิดเหตุประชาชนทั่วไปกำลังสนใจเรื่องโครงการอุทยานราชภักดิ์
อัยการเห็นว่า การกระทำของ ‘แจ่ม’ เป็นการติชมเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ ไม่เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างพื้นฐานหรือทำให้ประชาชนตื่นตระหนก แม้ว่าข้อความดังกล่าวอาจจะเป็นการใส่ความ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุววรณ และ พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร เข้าลักษณะหมิ่นประมาทก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์จึงไม่อาจดำเนินคดีกับผู้ต้องหาได้
จะเห็นได้ว่า ในความเห็นสั่งไม่ฟ้องของอัยการสูงสุดเขียนครอบคลุมไปถึงว่า โพสต์ของ ‘แจ่ม’ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ มาตรา 14 (2) ด้วย
คดีโพสต์วิจารณ์ตำรวจอ้าง ม.44 ค้นบ้าน

ที่มา : http://www.tlhr2014.com/th/?p=4452
อีกคดี คือ คดีของบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้นบ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44 บริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงอัยการศาลจังหวัดราชบุรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ใจความว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และบัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2560 อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ส่วนข้อหาหมิ่นประมาทยังอยู่ระหว่างอัยการศาลแขวงราชบุรีทำความเห็น โดยจะนัดฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีวันที่ 26 ธ.ค. 2560
แสดงให้เห็นว่าในชั้นอัยการเริ่มมีการปรับใช้กฎหมายให้ตรงกับเจตนารมณ์ที่แก้ไข แต่ยังมีอีกคดีที่น่าจับตา คือคดีของรินดา พรศิริพิทักษ์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2560
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Ie0YHG2rjMQ


ที่มา : https://www.slideshare.net/sirinadaphonboon/2560-78398536


สรุป

ที่มา : https://www.flaticon.com/free-icon
/customer-review_1055673

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ไว้ค่ะ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยค่ะ อีกทั้งการมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย


ที่มา 



วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 3 ความรู้เรื่องบล็อค




http://gifimage.net/blog-gif-2/



😲 บล็อก คือ อะไร 😲


บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน

 Blog มาจากศัพท์คำเต็มว่า WeBlog  คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา นอกจากนี้แล้ว Blog ยังเป็นพื้นที่ให้ Blogger โพสต์ข้อมูล หรือใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ 
📍 จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก
 โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger

Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง ❓





👋1. ใช้เป็นเครื่องมืออย่างดีในการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะ Tacit Knowledge โดยเขียนออกมาเป็น "เรื่องเล่า"
👋2. สามารถใช้สร้างความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในเครือข่าย/ ชุมชน  เป็นพลังเครือข่ายที่จะร่วมผลักดันงานร่วมกัน  
👋3. ใช้ติดต่องาน และให้ข้อเสนอแนะอย่างทันเวลา ทำให้งานได้ประสิทธิผลมากขึ้น  

💻 วิธีการสร้าง blog ง่ายๆ


https://www.youtube.com/watch?v=1UnqGDBnZBQ


เริ่มต้นสร้างบล็อก
 1. ให้ทำการสมัครบัญชีของ Gmail ของ google แต่ถ้าใครมีบัญชี Gmail อยู่แล้วก็ทำการล็อกอินเพื่อสร้างบล็อก ของ http://www.blogger.com/ ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้ว เมื่อเราเข้าไปที่เว็บ www.blogger.com หน้าเพจแรกจะถามบัญชีถึงบัญชี Gmail ของผู้ที่จะทำการสร้างบล็อกสำหรับนักศึกษาที่มีบัญชี Gmail อยู่แล้ว ก็กรอกชื่อบัญชี Gmail และ รหัสผ่านลงไป โดยหากใครยังไม่มีบัญชีให้คลิกที่เมนู Sign up เพื่อทำการสมัครบัญชี Gmail ใหม่



             2.กรอกข้อมูลสำคัญต่างๆดังภาพ


             3.เมื่อเราเข้าไปที่ www.blogger.com ที่ได้ทำการล็อกอินบัญชีของ Gmail แล้ว หน้าแรกของ blogger จะมีหน้าตาดังภาพ ใคลิกไปที่เมนู “บล็อกใหม่” เพื่อทำการสร้างบล็อก
                                 

              4. เมื่อเราคลิกไปที่เมนูเพื่อสร้างบล็อกใหม่แล้ว ให้ทำการกรอกรายละเอียดดังนี้ คือ ตรงหัวข้อ ให้พิมพ์ชื่อบล็อก ตรงที่อยู่ ให้ตั้งชื่อ URL ซึ่งควรใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษและตัวเลข และต้องดูตรงสถานะของบล็อกด้วยว่าชื่อ URL ที่ตั้งไปนั้นมีผู้ใช้แล้วหรือยังไม่มีผู้ใช้ มันจะแจ้งว่า “ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้ได้” เสร็จแล้วให้ทำการเลือกรูปแบบ จากแม่แบบว่าจะให้บล็อกมีหน้าตาในการแสดงผลเช่นไร เมื่อเลือกแล้วก็ คลิกเมนู “สร้างบล็อก”
                                 
ที่มา : http://itwarnjung.blogspot.com/p/blog-page_26.html

ข้อดีและข้อเสียของ Blog 💭

👍ข้อดี

- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ 
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ 
ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก

👎ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)

http://www.tellinya.com/free-computer-desk-with-hutch-plans-how-much.html

⛬ บทสรุปส่งท้าย 

การเลือก ทำBlog ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกวิธีหนึ่ง ในการนำเสนอ หรือ โปรโมท สินค้าและบริการต่างๆ  ซึ่งปัจจุบัน วงการ Blog นั้นได้พัฒนาขึ้นมาก ทั้งลูกเล่นและฟังกชั่น การออกแบบดีไซน์ มีรูปแบบ Template สวยๆให้เลือกใช้มากมาย ครอบคลุมในสิ่งจำเป็นหลักๆได้ทั้งหมด และหากท่านมีความรู้ในเรื่องของ ภาษา HTML และ CSS ด้วยแล้วนั้น การสร้างBlog ในระดับคุณภาพดีดี สัก Blog ขึ้นมา อาจจะเทียบได้กับการสร้างเว็บไซด์แบบปกติ หรือเว็บไซด์สำเร็จรูปดีดี สักเว็บได้เลยทีเดียว (หรืออาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำไป)