Snoopy Snoopy

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 4 พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560


ที่มา : https://www.flaticon.com/free-icon/responsive_1055687#term=computer&page=1&position=4

พรบ.คอมพิวเตอร์

ที่มา :https://www.flaticon.com
/free-icon/promotion_1055641
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้



สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้



ที่มา :https://www.flaticon.com
/free-icon/digital-campaign_1055662

1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้


หลัง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ได้ราว 6 เดือน คดีความที่ถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับเดิมต่างทยอยสิ้นสุดคดีจากการสั่งไม่ฟ้องในชั้นอัยการ ถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับการบังคับใช้มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ในจำนวนนี้มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 2 คดี
คดีโพสต์ผังทุจริตอุทยานราชภักดิ์


ที่มา : https://travel.mthai.com/blog/121494.html
ดีแรก คือ คดีของ ‘แจ่ม’ (นามสมมติ) ผู้ตกเป็นผู้ต้องหาในความผิดข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 จากการโพสต์ข้อความ ถึงความขัดแย้งภายใน คสช. จากกรณีทุจริตโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558
เมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้อัยการศาลทหารกรุงเทพ อัยการทหารมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีเนื่องจากเห็นว่าคดีนี้ไม่ได้เป็นความผิดตามมาตรา 116 อัยการทหารจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ทว่าพนักงานสอบสวนยังคงนำสำนวนการสอบสวนเดิมส่งต่อให้อัยการศาลจังหวัดพระโขนง
อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีในเดือนเมษายน 2560 โดยให้เหตุผลว่า ข้อความในเฟซบุ๊กของ ‘แจ่ม’ เป็นความเชื่อของผู้กล่าวหาว่าเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว แต่ไม่มีพยานยืนยันว่าข้อความนั้นเป็นเท็จหรือไม่ และขณะเกิดเหตุประชาชนทั่วไปกำลังสนใจเรื่องโครงการอุทยานราชภักดิ์
อัยการเห็นว่า การกระทำของ ‘แจ่ม’ เป็นการติชมเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ ไม่เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างพื้นฐานหรือทำให้ประชาชนตื่นตระหนก แม้ว่าข้อความดังกล่าวอาจจะเป็นการใส่ความ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุววรณ และ พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร เข้าลักษณะหมิ่นประมาทก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์จึงไม่อาจดำเนินคดีกับผู้ต้องหาได้
จะเห็นได้ว่า ในความเห็นสั่งไม่ฟ้องของอัยการสูงสุดเขียนครอบคลุมไปถึงว่า โพสต์ของ ‘แจ่ม’ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ มาตรา 14 (2) ด้วย
คดีโพสต์วิจารณ์ตำรวจอ้าง ม.44 ค้นบ้าน

ที่มา : http://www.tlhr2014.com/th/?p=4452
อีกคดี คือ คดีของบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้นบ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44 บริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงอัยการศาลจังหวัดราชบุรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ใจความว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และบัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2560 อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ส่วนข้อหาหมิ่นประมาทยังอยู่ระหว่างอัยการศาลแขวงราชบุรีทำความเห็น โดยจะนัดฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีวันที่ 26 ธ.ค. 2560
แสดงให้เห็นว่าในชั้นอัยการเริ่มมีการปรับใช้กฎหมายให้ตรงกับเจตนารมณ์ที่แก้ไข แต่ยังมีอีกคดีที่น่าจับตา คือคดีของรินดา พรศิริพิทักษ์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2560
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Ie0YHG2rjMQ


ที่มา : https://www.slideshare.net/sirinadaphonboon/2560-78398536


สรุป

ที่มา : https://www.flaticon.com/free-icon
/customer-review_1055673

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ไว้ค่ะ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยค่ะ อีกทั้งการมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย


ที่มา 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น